หากว่าคุณกำลังตั้งครรภ์อยู่ ภาวะที่คุณควรระมัดระวังไม่แพ้ภาวะอื่นๆ นั่นคือ ภาวะไตรกลีเซอไรด์สูง หรือไขมันในเลือดสูง ซึ่งทำให้เกิดหลอดเลือดอุดตัน เกิดการหดรัดตัวของหลอดเลือด และอันตรายถึงขั้นหัวใจขาดเลือดได้
ปัจจัยเสี่ยง
ปัจจัยเสี่ยง ที่ทำให้เกิดภาวะไตรกลีเซอไรด์สูง เกิดขึ้นได้จากอาหารการกิน และเกิดได้จากการที่ร่างกายสร้างขึ้นเอง โดยระดับไตรกลีเซอไรด์ไม่ควรเกิน 150 มิลลิกรัม ต่อเดซิลิตร
นอกจากปัจจัยนี้แล้ว ยังมีปัจจัยอื่นๆ ร่วมด้วย คือ
- กรรมพันธุ์ถ้าคนในครอบครัวมีประวัติ เช่น โรคเบาหวาน ต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ โรคอ้วน เป็นต้น ก็จะมีแนวโน้มเป็นได้มาก
- ทานอาหารไม่เหมาะสม เช่น ชอบทานอาหารรสหวาน อาหารพวกแป้ง ไขมัน เป็นต้น
- ตั้งครรภ์ตอนอายุมากตั้งครรภ์เมื่ออายุ 40 ปีขึ้นไป
ผลกระทบของไตรกลีเซอไรด์สูงต่อลูกน้อย
เมื่อคุณแม่มีระดับไตรกลีเซอไรด์สูง นอกจากจะส่งผลต่อตัวเองแล้ว ยังทำให้เลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆ ได้น้อยลง นำออกซิเจนไปถึงลูกน้อยได้น้อยลง ลูกจึงได้รับสารอาหารน้อยลงมาก ส่งผลให้ลูกในท้องเจริญเติบโตช้ากว่าที่ควรจะเป็นได้
การควบคุมไตรกลีเซอไรด์
การควบคุมไตรกลีเซอไรด์ ทำได้ดังนี้
- งดอาหารหวาน และเปลี่ยนมาทานความหวานจากผลไม้แทน ซึ่งก็ควรทานแต่พอเหมาะ
- งดน้ำอัดลมและน้ำหวาน เปลี่ยนมาดื่มน้ำสมุนไพรแทน
- หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันมาก และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ และเน้นการบริหารหลอดเลือด เช่นการเล่นโยคะ เป็นต้น
ในช่วงตั้งครรภ์ คุณแม่อาจมีหลายเรื่องที่กังวลใจ เพราะกลัวจะส่งผลถึงลูกน้อยในท้อง แต่ไม่ต้องกังวลใจไปค่ะ เพียงแค่ดูแลสุขภาพของตนเองให้ดี ทานอาหารที่มีประโยชน์ และให้ลูกน้อยได้รับสารอาหารครบถ้วน ก็ช่วยให้ลูกน้อยสมบูรณ์แข็งแรงได้ค่ะ
ในช่วงของการตั้งครรภ์ เชื่อว่าคุณแม่ทุกคน คงรู้สึกตื่นเต้นไม่น้อย และเป็นห่วงลูกน้
การตั้งครรภ์ เป็นช่วงเวลาที่แสนพิเศษของผู้หญิงเรา และลูกน้อย ก็เปรียบเ
เวลาที่คุณพาลูกน้อยไปไหนก็ตาม เมื่อใดที่ลูกของคุณพบเห็นลูกโป่ง ก็จะเกิดอาการอยากได
การคลอดลูก เป็นช่วงเวลาแห่งความเจ็บปวดที่แสนงดงาม เพราะเป็นการให้กำเนิดลูกน้อย ได้ออก
แม้ว่า การให้นมลูก เป็นสิ่งที่ธรรมชาติจัดเตรียม และรับรู้ได้ด้วยสัญชาตญาณของความเป็นแ
ภาวะครรภ์เป็นพิษ เป็นความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นได้ในอายุครรภ์ 5-6 เดือน ไปจนถึงหลังคลอ